หลักสูตรการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 9 (ก.พ.ร. 1 รุ่น 9)

——————————————————-

  1. หลักการและเหตุผล

การพัฒนาอย่างยั่งยืน ถือเป็นวาระสำคัญของโลกที่องค์การสหประชาชาติให้ความสำคัญในการสร้างความร่วมมือจากทุกประเทศในการขับเคลื่อนภายใต้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ข้อ (Sustainable Development Goals: SDG) ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ช่วงสองถึงสามศตวรรษที่ผ่านมา ได้ทำให้โลกเสียสมดุล ทำให้เกิดวิกฤตปัญหาในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความเหลื่อมล้ำ ความขัดแย้ง การสร้างมลพิษ การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ ความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางพลังงาน อาหาร และน้ำ ตลอดจนการรับมือจากผลกระทบทางภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ฯลฯ เป็นต้น

ประเทศไทยเอง มีความจำเป็นอย่างที่สุดที่ต้องนำหลักแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม การท่องเที่ยว ฯลฯ และสร้างมิติของการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกบริบท ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในเชิงบูรณาการ เพื่อหยุดยั้ง บรรเทา ปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องการการบริหารจัดการองค์การที่คำนึงถึง สิ่งแวดล้อม (Environment) ผลกระทบต่อสังคม (Society) และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) เพื่อนำไปสู่การประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะองค์การภาครัฐยุคใหม่ ที่ต้องออกแบบการบริหารจัดการที่สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนด้วยรูปแบบธรรมาภิบาล (Good Governance) เพื่อการบริหารขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างสมดุล เป็นธรรม มั่นคง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดหลักสูตร “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับนักบริหารระดับสูง” ให้ผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างเครือข่ายการทำงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ให้เข้ากับบริบทสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง จนพัฒนาขึ้นเป็น หลักสูตร ก.พ.ร. 1 รุ่น 9 ขึ้น

  1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ และปณิธานหลัก

วัตถุประสงค์:

2.1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการศึกษาอบรมในการวิเคราะห์สถานการณ์และโจทย์ความท้าทายในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและธรรมาภิบาล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของประเทศและของโลก

2.2 เพื่อส่งเสริมการแสวงหาและแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับ หลักการ ยุทธศาสตร์และรูปแบบต่างๆ ในการบริหารองค์การตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม ได้ร่วมพัฒนาแนวคิดและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคส่วนที่สำคัญของประเทศ เช่น ภาคเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ทั้งในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น ฯลฯ ซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้สำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไปได้

2.4 เพื่อพัฒนาผู้บริหารให้มีขีดสมรรถนะในการเป็นผู้นำและเครือข่ายในด้านการริเริ่มเสริมสร้าง การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ปณิธานหลัก :

เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมสามารถคิด วิเคราะห์และนำผลที่ได้รับไปปรับใช้ เพื่อพัฒนาหน่วยงานของตนเองตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

  1. ระบบการศึกษาเรียนรู้

3.1 การเรียนรู้ในห้องเรียน โดยอาศัยวิธีการบรรยาย การอภิปราย และกรณีศึกษา โดยเน้นการมี
ส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับการศึกษาอบรม เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการ แนวคิด รูปแบบ วิธีการวิเคราะห์ และแนวทางปฏิบัติ ในประเด็นหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ตามที่กำหนด

3.2 การศึกษาดูงานนอกสถานที่เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและเสริมประสบการณ์ด้วยการลงพื้นที่ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในบริบทที่น่าสนใจและมีความทันสมัยเหมาะสมกับการนำมาปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้เกิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งทางด้านความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้ารับการศึกษาอบรม และผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ

3.3 การจัดทำงานโครงการเชิงปฏิบัติรายบุคคล “ต้นแบบโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหา วางกระบวนการในการปรับปรุง/แก้ไขปัญหา สร้าง/ออกแบบเครื่องมือและวิธีการ เพื่อจัดการกับประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนา ธรรมาภิบาลในการนำยุทธศาสตร์ที่ต้องการการบูรณาการจากหลายภาคส่วนไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้สามารถ เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการบริหารการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  1. ระยะเวลาและสถานที่ในการศึกษาอบรม

ระยะเวลาการศึกษาอบรมในหลักสูตรฯ รวมทั้งสิ้นจำนวน 195 ชั่วโมง ประกอบด้วย

  • การเรียนรู้ภาควิชาการ 123 ชั่วโมง
  • การชี้แจง ให้คำปรึกษา

และนำเสนองานโครงการเชิงปฏิบัติรายบุคคล 24 ชั่วโมง

  • การศึกษาดูงานนอกสถานที่ 48 ชั่วโมง
    • ศึกษาดูงานในประเทศ 30 ชั่วโมง
    • ศึกษาดูงานต่างประเทศ 18 ชั่วโมง

โดยกำหนดให้มีการศึกษาอบรม ในวันและเวลา ดังนี้

วันศุกร์ เวลา 17.00 – 20.30 น. และวันเสาร์ เวลา 09.00 – 16.30 น. โดยอาจมีการศึกษาดูงานในเวลาราชการในวันศุกร์ในบางสัปดาห์

หมายเหตุ :

วันเวลาและสถานที่ในการจัดการศึกษาอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ได้ โดยทางหลักสูตรจะประกาศให้ทราบล่วงหน้า

  1. จำนวนผู้เข้ารับการศึกษาอบรม การสมัครฯ และคุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษาอบรม

ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมจำนวน 90 คน โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการศึกษาอบรมต้องมีคุณสมบัติดังนี้

5.1 คุณสมบัติผู้เข้ารับการศึกษาอบรม

ผู้ประสงค์จะเข้าศึกษาอบรมในหลักสูตรฯ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

1.1 ข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการอื่น ๆ ที่เทียบเท่าผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

(1.) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ขึ้นไป

(2) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง

(3) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป

(4) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ

(5) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือชำนาญการพิเศษ และดำรงตำแหน่งบริหารส่วนงาน

1.2 พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าข้าราชการพลเรือนตาม (1)

1.3 กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรกำกับดูแล องค์กรตามรัฐธรรมนูญ

1.4 นายทหาร หรือนายตำรวจ ที่มีชั้นยศ อัตราเงินเดือน พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือพันตำรวจเอก ขึ้นไป

1.5 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕

1.6 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(1) นายก หรือรองนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(2) สมาชิกสภาท้องถิ่น

(3) ข้าราชการหรือพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าระดับ 9 ขึ้นไป หรือดำรงตำแหน่งระดับ 8 อาวุโส ไม่น้อยกว่า 3 ปี

(4) ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรชุมชน หรือผู้นำชุมชน หรือผู้นำท้องถิ่น

1.7 ผู้บริหารองค์กรภาคประชาชนที่ไม่แสวงหากำไร เช่น มูลนิธิ สมาคม องค์กรพัฒนาเอกชน เป็นต้น

1.8 ผู้บริหารมหาวิทยาลัย หรืออาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งระดับตั้งแต่รองศาสตราจารย์ ขึ้นไปอาจารย์มหาวิทยาลัย ระดับตั้งแต่ รองศาสตราจารย์ หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ดำรงตำแหน่งบริหาร ขึ้นไป

1.9 ผู้ประกอบการ กรรมการบริษัท กรรมการบริหารบริษัท หรือผู้บริหารระดับสูงของกิจการภาคเอกชน ให้หมายความรวมถึงคณะกรรมการของบริษัทด้วย

1.10 บุคคลซึ่งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาเป็นกรณีพิเศษ เนื่องด้วยเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ หรือมีผลงานอันเป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับของสังคม

ทั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี และมีประสบการณ์ทำงาน 10 ปี ขึ้นไป กรณีที่เป็นข้าราชการไม่ว่าประเภทใดก็ตามต้องเป็นผู้ที่มีเวลาราชการเหลือตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ณ วันที่ศึกษาอบรมครบตามที่หลักสูตรกำหนด (กุมภาพันธ์ 2567) รวมทั้งจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ คณะกรรมการฯ กำหนด ณ วันปิดรับสมัคร เป็นผู้ที่มีความพร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาอบรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของระยะเวลาในการศึกษาอบรม และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมจัดทำผลงานตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ จะต้องไม่อยู่ในระหว่างการเข้ารับการศึกษาอบรมในหลักสูตรของหน่วยงาน
หรือสถาบันอื่นใดในขณะเวลาเดียวกัน เพื่อให้มีเวลาเข้ารับการศึกษาอบรมในหลักสูตรได้อย่างเต็มที่

การพิจารณาผู้สมัครให้เข้าร่วมหลักสูตร จะเป็นไปตามเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนดไว้ และการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ให้ถือเป็นที่สิ้นสุด

5.2 เอกสารประกอบการสมัคร

กรอกรายละเอียดในใบสมัคร โดยดาวน์โหลดทาง www.igpthai.org.และ www.opdc.go.th พร้อมแนบสำเนาบัตรข้าราชการ หรือบัตรประชาชน และรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว หน้าตรง จำนวน 2 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน) ส่งได้ที่

  1. e-mail : ggsd9@igpthai.org
  2. ไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึง

โครงการหลักสูตรการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สำหรับนักบริหารระดับสูง

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร.

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

เลขที่ 120 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9 ถนนแจ้งวัฒนะ

แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

  1. ยื่นเอกสารสมัครด้วยตนเอง

โครงการหลักสูตรการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สำหรับนักบริหารระดับสูง

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร.

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

เลขที่ 120 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9 ถนนแจ้งวัฒนะ

แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

หมายเลขโทรศัพท์ 0 2141 9021

หรือ 08 4241 5996

5.3 กำหนดการรับสมัคร ประกาศรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม และรายงานตัว

ระยะเวลารับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2566

ประกาศรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม ภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2566 ผ่านทาง www.igpthai.org และ www.opdc.go.th

กำหนดรายงานตัวและชำระค่าธรรมเนียม

ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการศึกษาอบรมในหลักสูตรฯ จะต้องมารายงานตัวและชำระค่าธรรมเนียมในวันที่ 19 สิงหาคม ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2566 (เริ่มศึกษาอบรมวันแรก วันที่ 19 สิงหาคม 2566)

  1. ค่าธรรมเนียมหลักสูตรฯ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตรฯ 259,000 บาท มีรายละเอียดดังนี้

  • ค่าธรรมเนียม รวมค่าเอกสาร ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานภายในประเทศที่หลักสูตร เป็นผู้กำหนด (การพักโรงแรมจะเป็นห้องพักคู่ 2 ท่าน/ห้อง/คืน) ทั้งนี้ ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศึกษาอบรม
  • ค่าธรรมเนียม รวมค่าเอกสาร ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานต่างประเทศที่หลักสูตร เป็นผู้กำหนด (ตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดและการพักโรงแรมจะเป็นห้องพักคู่ 2 ท่าน/ห้อง/คืน) ทั้งนี้ ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป – กลับสนามบิน
  • อัตราดังกล่าวได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย
  • ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าใช้จ่ายจากหน่วยงานต้นสังกัดได้ตามระเบียบของทางราชการ
  • ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น สามารถเบิกจ่ายเงินเพื่อการฝึกอบรมหรือดูงาน ในต่างประเทศ ได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากหลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรฝึกอบรม ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้จ่ายเงินเพื่อการฝึกอบรมหรือดูงานในต่างประเทศ ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นได้ (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การฝึกอบรมซึ่งจัดโดยหน่วยงานของรัฐที่กำหนดให้มีการฝึกอบรมหรือดูงานในต่างประเทศของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายเงินได้ พ.ศ. 2562)
  1. โครงสร้างและรายละเอียดของหลักสูตรฯ

หลักสูตรฯ ประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ การเรียนรู้ภาควิชาการในห้องเรียน การศึกษาดูงานนอกสถานที่ และการจัดทำงานโครงการเชิงปฏิบัติรายบุคคล

ในส่วนของเนื้อหาการเรียนรู้ในห้องเรียนประกอบด้วย หมวดวิชา 4 หมวด จำนวน 123 ชั่วโมง ดังนี้

หมวดวิชาที่ ๑ : ส่วนนำและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และการพัฒนา อย่างยั่งยืน

18 ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ ๒ : สถานการณ์และความท้าทาย 36 ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ ๓ : การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล 39 ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ ๔ : กรณีศึกษา 30 ชั่วโมง

หมวดวิชาที่ 1 : ส่วนนำและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

18 ชั่วโมง

เนื้อหาในหมวดวิชานี้ครอบคลุมถึงพิธีเปิด การแนะนำหลักสูตรภาควิชาการ กิจกรรมการศึกษาดูงาน เงื่อนไขและเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักสูตรฯ และการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานงานโครงการเชิงปฏิบัติรายบุคคล รวมทั้งการนำเสนอพื้นฐานภาพรวมกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พร้อมทั้งเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของหมวดวิชาต่าง ๆ เพี่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมได้เข้าใจสาระสำคัญและภาพรวมของหลักสูตรฯ

รายวิชา

ที่

หัวข้อวิชา – กิจกรรม

เวลา (ชั่วโมง)

วิธีการ

1

พิธีเปิดและแนะนำหลักสูตร

3

ปาฐกถา และบรรยาย

2

กิจกรรมเสริมสร้างสัมพันธภาพ

6

กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

3

การศึกษาดูงานและบำเพ็ญประโยชน์

3

ศึกษาดูงานและทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

4

กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– การพัฒนาอย่างสมดุล

– การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน

– การเสริมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยอาศัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล

3

บรรยาย – อภิปราย

5

การชี้แจงแนวทางการทำงานโครงการ เชิงปฏิบัติรายบุคคลและกำหนดโจทย์หัวข้อเรื่อง

3

บรรยาย – จัดกลุ่มหัวข้อโครงการ เชิงปฏิบัติรายบุคคล – นำเสนอหัวข้อเบื้องต้น

หมวดวิชาที่ 2 สถานการณ์และความท้าทาย 36 ชั่วโมง

เนื้อหาในหมวดวิชานี้ครอบคลุมการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์และความท้าทายเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น การอนุรักษ์พื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สถานะและความท้าทายด้านสุขภาพ ความปลอดภัยบนท้องถนน และประเด็นท้าทายด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมนำเสนอประเด็นสถานการณ์ความท้าทายที่จะนำมาเป็นโจทย์สำหรับทำงานโครงการเชิงปฏิบัติรายบุคคล

รายวิชาในแต่ละหมวดวิชา

ที่

หัวข้อวิชา – กิจกรรม

เวลา (ชั่วโมง)

วิธีการ

1

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับสถานการณ์โลกและประเทศไทย

– ที่มาและสาระสำคัญของเป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน

– กลไกการขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับสากลและในประเทศไทย

– สถานการณ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของไทย

– แนวทางที่ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมจะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

3

บรรยายและอภิปรายะอภิปราย (UNDP)

2

พัฒนาการของเศรษฐกิจการเมืองโลก และความท้าทายต่อความยั่งยืนของประเทศไทย

– แนวโน้มสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจของโลก

– ความท้าทายต่อการเมืองและเศรษฐกิจสังคมไทย

– แนวโน้มด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลกและผลกระทบต่อประเทศไทย

3

บรรยายและอภิปราย

3

แนวโน้มทางการเมืองของประเทศกับ การธรรมาภิบาลและพัฒนาอย่างยั่งยืน

– แนวโน้มสถานการณ์ด้านการเมืองของไทย

– การดำเนินนโยบายทางการเมืองที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– แนวทางในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้บริบทการเมืองไทย

1.5

4

ประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนในรัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

– ประเด็นเรื่องความยั่งยืนและธรรมาภิบาลในรัฐธรรมนูญ

– ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและธรรมาภิบาล

– กลไกการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

1.5

อภิปรายเป็นคณะ

5

ความท้าทายของจังหวัดน่านด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– ระบบนิเวศและภูมิสังคมดั้งเดิมของ เมืองน่าน

– การพัฒนาโดยไม่คำนึงถึงความยั่งยืน ที่ส่งผลกระทบต่อเมืองน่าน

– แนวทางการพัฒนาจังหวัดน่านอย่างยั่งยืน

– บทบาทของภาครัฐ ประชาสังคม ภาคธุรกิจและประชาชนในการพัฒนาน่านอย่างยั่งยืน

3

บรรยาย 1.5 ชั่งโมง

และอภิปรายกลุ่ม 1.5 ชั่วโมง

6

ชนบทไทย ความท้าทายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– ความสำคัญของชนบทต่อความยั่งยืนของประเทศ

– ความท้าทายที่สำคัญต่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจและสังคมในชนบท

– แนวทางการพัฒนาชนบทอย่างสมดุล และยั่งยืน

– แนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจสำคัญในการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน

3

บรรยายและอภิปราย

7

สถานการณ์และความท้าทายด้านความปลอดภัยบนท้องถนน

– สถานการณ์และความสูญเสียเกี่ยวกับอุบัติภัยบนท้องถนน

– แนวทางป้องกันและจัดการกับปัญหาอุบัติภัยบนท้องถนน

– การใช้หลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน

1.5

บรรยายและอภิปราย

8

กลไกการบริหารด้านความยั่งยืนของไทย

– โครงสร้างองค์การบริหารด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย

– กรณีตัวอย่างการจัดโครงสร้างองค์การบริหารด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของต่างประเทศ

– ข้อดีและจุดอ่อนในกลไกการบริหารจัดการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย

– ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย

1.5

บรรยายและอภิปราย

9

การจัดการด้านความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

– สภาพปัญหา สาเหตุ และผลกระทบ ของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

– เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านโอกาสที่เท่าเทียมกันในด้านการศึกษาและกลไกการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามเป้าหมายดังกล่าว

– แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

3

บรรยายและอภิปราย

10

การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

– สถานการณ์และแนวโน้มด้านการท่องเที่ยวของโลกและของไทย

– ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ สังคม และความยั่งยืนของท้องถิ่น

– กลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยว ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– กรณีตัวอย่างการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน

3

บรรยายและอภิปราย

11

ความท้าทายต่อระบบสุขภาพของไทย

– สถานการณ์ด้านสุขภาพและสุขภาวะ ของไทยในมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– กลไกการบริหารจัดการด้านสุขภาพ ของไทยตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– ธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมในการจัดการด้านสุขภาพและสุขภาวะ

3

บรรยาย ๑.๕ ชั่งโมง

และอภิปรายกลุ่ม ๑.๕ ชั่วโมง

12

สถานการณ์ด้านน้ำความท้าทายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– แนวโน้มสถานการณ์ด้านทรัพยากรน้ำ ของโลกและของไทย

– การจัดการทรัพยากรน้ำตามเป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย

– การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพยากรน้ำของไทย

3

บรรยายและอภิปราย

13

การนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโจทย์ความท้าทายในงานโครงการเชิงปฏิบัติรายบุคคลของนักศึกษา

6

การสัมมนา

หมวดวิชาที่ 3 การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล 39 ชั่วโมง

เนื้อหาในหมวดวิชานี้ครอบคลุมถึงบรรยายและกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และการนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น การเสริมสร้างธรรมาภิบาลโดยเครื่องมือทางกฎหมาย การบริหารงานอย่างโปร่งใส การมีส่วนร่วม การพัฒนากลไกการตรวจสอบและควบคุมภายใน รวมถึงการเสริมสร้างจริยธรรมและการต่อต้านการทุจริต

ที่

หัวข้อวิชา – กิจกรรม

เวลา (ชั่วโมง)

วิธีการ

1

การเสริมสร้างธรรมาภิบาลโดยเครื่องมือทางกฎหมาย

– หลักนิติธรรม รัฐ ระบบกฎหมาย และธรรมาภิบาล กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– กรณีตัวอย่างของกฎหมายและกลไก การบริหารที่อาศัยหลักธรรมาภิบาล เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

3

บรรยายและอภิปราย

2

การบริหารอย่างโปร่งใส: กฎหมายและกรณีตัวอย่าง

– ความหมายและความสำคัญของความเปิดเผยโปร่งใสต่อการมีธรรมาภิบาลและการเสริมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– กลไกการเสริมสร้างความโปร่งใสในการบริหารงานในภาครัฐและภาคเอกชน

– กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารความโปร่งใส

– มาตรการเสริมสร้างความโปร่งใสในภาค ธุรกิจเอกชน

3

บรรยายและอภิปราย

3

การบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– ความหมายและความสำคัญของการ มีส่วนร่วม และการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย ต่อการบริหารงานอย่างมี ธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– บทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม

– กรณีตัวอย่างการบริหารการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วม

– แนวทางในการนำการมีส่วนร่วมมาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างการพัฒนา อย่างยั่งยืน

3

อภิปรายเป็นคณะ

4

การใช้กลไกการตรวจสอบถ่วงดุล เพื่อเสริมสร้างภาระรับผิดรับชอบตรวจสอบได้ (Accountability): กลไกภายในและภายนอกองค์การ

– ความหมายและความสำคัญของการใช้กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลในการเสริมสร้างความรับผิดรับชอบ (Accountability) ในการบริหารงาน ตามหลักธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– กลไกจากภายนอกในการกำกับดูแล เพื่อเสริมสร้างภาระรับผิดรับชอบ เช่นคณะกรรมการตรวจสอบ คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลจากรัฐ

– กลไกภายในองค์การในการกำกับดูแลเพื่อเสริมสร้างภาระรับผิดรับชอบ เช่น ระบบการควบคุมภายใน การประเมินผลการดำเนินงานขององค์การและการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคล

– การกำกับดูแลให้องค์การพัฒนาสู่ความยั่งยืน

3

บรรยายและอภิปราย

5

การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงเพื่อความยั่งยืน

– มาตรฐานการควบคุมภายในและองค์ประกอบสำคัญของระบบการควบคุมภายใน (Governance, Risk and Compliance)

– การใช้ระบบการควบคุมภายในในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้จากการบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบภายในในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

3

บรรยายและอภิปราย

6

การใช้การวางแผนกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาล

– ความหมายและความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์

– การใช้แผนกลยุทธ์ในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

– การใช้แผนกลยุทธ์ในการเสริมสร้าง
ธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

3

บรรยายและอภิปราย

7

การใช้วิธีคิดเชิงออกแบบในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

– การพัฒนานวัตกรรมทางนโยบายและบริการสาธารณะโดยวิธีการคิดเชิงออกแบบ

– การคาดการณ์อนาคต (Fore sighting)

– กระบวนการคิดเชิงออกแบบ

– กรณีตัวอย่างและการฝึกปฏิบัติการคิดเชิงออกแบบ

6

บรรยายและอภิปราย

8

การวัดและประเมินผลการปฏิบัติงาน

– ความหมายและความสำคัญของการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงาน

– การใช้การวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานในการยกระดับประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความคุ้มค่า (Value for Money)

– การวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานในการเสริมสร้างภาระรับผิดรับชอบตรวจสอบได้ (Accountability)

– กรณีตัวอย่างการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานในฐานะเครื่องมือในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน

3

บรรยายและอภิปราย

9

การจัดการความรู้และนวัตกรรมในองค์การ: กรณีศึกษา SCG Innovation Center

– ปรัชญาและนโยบายในการพัฒนานวัตกรรมและการจัดการความรู้ของเครือ SCG

– กลไกในการเสริมสร้างนวัตกรรม เช่น Zero-to-One, Adventure และ SCG Innovation Center เป็นต้น

3

บรรยายและอภิปราย

10

การพัฒนาองค์การดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาล

– พัฒนาการของเทคโนโลยีและโลก ยุคดิจิทัล

– แนวทางการนำดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และธรรมาภิบาล

– กรณีตัวอย่างในการนำดิจิทัลมาประยุกต์ ใช้ในการบริหารเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพประสิทธิผลและธรรมาภิบาล

3

บรรยายและอภิปราย

11

เครื่องมือรับฟังประชาชนแนวใหม่: Open Government และ Open Innovation Platform

– การเสริมสร้างความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมด้วย Open Government, Hackathon และ ช่องทางสมัยใหม่อื่นๆ

– กรณีตัวอย่างการใช้ Open Government และ Hackathon ในการพัฒนานโยบายและการบริการสาธารณะ

3

บรรยายและอภิปราย

12

การเสริมสร้างจริยธรรมและการต่อต้านการทุจริต

– สถานการณ์และปัญหาด้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของไทย

– แนวทางการต่อต้านการทุจริตในระดับชาติ ระดับหน่วยงาน และการมีส่วนร่วมของประชาชน

– มาตรฐานและประมวลจริยธรรมในการปฏิบัติราชการ

– มาตรการในการบังคับใช้และในการส่งเสริมจริยธรรม

– แนวทางการเสริมสร้างวัฒนธรรมสุจริตในองค์การ

3

บรรยายและอภิปราย

หมวดวิชาที่ 4 กรณีศึกษา 30 ชั่วโมง

เนื้อหาในหมวดวิชานี้ประกอบด้วยการนำเสนอกรณีตัวอย่างของการนำหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น กรณีตัวอย่างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นโดยมุ่งเสริมสร้างความยั่งยืน การบริหารธุกิจเพื่อความยั่งยืนตามหลัก ESG และ การบริหารธุรกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมได้สามารถวิเคราะห์แนวคิดจากประสบการณ์เพื่อนำไปสรุปเป็นหลักการสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป รวมทั้งเป็นการให้ตัวอย่างของแหล่งเรียนรู้ที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานในอนาคต

ที่

หัวข้อวิชา – กิจกรรม

เวลา (ชั่วโมง)

วิธีการ

1

การจัดการทรัพยากรน้ำโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีแพรกหนามแดง จังหวัดสุมทรสงคราม

– สภาพภูมิสังคมและระบบนิเวศ ของ ตำบลแพรกหนามแดง และ จังหวัดสมุทรสงคราม

– ปัญหาความท้าทายที่เกิดขึ้นจากวิธีบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ

– ประสบการณ์การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดการน้ำที่แพรกหนามแดง

3

บรรยายและอภิปราย

2

การบริหารท้องถิ่นอย่างยั่งยืน:

กรณีเทศบาลพนัสนิคม

– สภาพระบบนิเวศและภูมิสังคมของเทศบาลพนัสนิคม

– นโยบายของเทศบาลในการเสริมสร้าง การพัฒนาอย่างยั่งยืน

– ระบบการจัดเก็บ ประมวลผล และใช้ประโยชน์จากข้อมูลเกี่ยวกับความยั่งยืน ของเทศบาล

– บทเรียนที่สำคัญเกี่ยวกับการนำหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ในการบริหารท้องถิ่น

3

บรรยายและอภิปราย

3

การบริหารด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารกิจการที่ดี (ESG) : สำนักงาน กลต. และบริษัท ปตท จำกัด (มหาขน)

– ความหมายและความสำคัญของ “ความยั่งยืน” ในการประกอบกิจการธุรกิจในยุคปัจจุบัน

– การบริหารด้านความยั่งยืนของบริษัทในเครือ ปตท.: นโยบาย โครงสร้าง และ กลยุทธ์สำคัญ

– การส่งเสริมและกำกับดูแลให้การประกอบกิจการธุรกิจเป็นไปตามหลักความยั่งยืน

– มาตรการสำคัญด้านความยั่งยืนที่ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ควรพิจารณา

3

อภิปรายเป็นคณะ

4

การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืน: กรณีศึกษาการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

– แนวนโยบายด้านความยั่งยืนของ กฟผ.

– ยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างความยั่งยืนโดยการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียน

– การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืน

3

บรรยายและอภิปราย

5

การต่อสู้กับวิกฤตการณ์สูญพันธุ์และการส่งเสริมความรักธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ: กรณีศึกษาการเพาะพันธุ์และนำสัตว์ป่าที่สูญพันธุ์ไปแล้วปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

– บทบาทและหน้าที่ของสวนสัตว์ในการเสริมสร้างความยั่งยืนผ่านการอนุรักษ์ชีวิตสัตว์ป่าและการต่อต้านวิกฤตการสูญพันธุ์

– การแก้ปัญหาการสูญพันธ์ที่องค์การสวนสัตว์ฯ ได้มีส่วนสำคัญ: ละมั่งพันธุ์ไทย นกกะเรียนพันธุ์ไทย และพญาแรง

– การทำงานแบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในการต่อต้านการสูญพันธุ์

3

บรรยายและอภิปราย

6

การลดความเหลื่อมล้ำ: กรณี การจ้างงานคนพิการโดยบริษัทในเครือเซนทรัลพัฒนา

– นโยบายในการส่งเสริมการจ้างงาน คนพิการของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ และกระทรวงแรงงาน

3

บรรยายและอภิปราย

7

การใช้พลังชุมชนและท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ลำสนธิโมเดล

– ความเป็นมาและปัญหาความท้าทาย ด้านสังคมสูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลลำสนธิ

– แนวทางการจัดการด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในชนบทโดยอาศัยการทำงานเป็นเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น

– การขยายผลของโครงการลำสนธิโมเดล

3

บรรยายและอภิปราย

8

การพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ(ตามแนวทางของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ)

– ความเป็นมาของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

– แนวทางของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ในการพัฒนาชนบทแบบบูรณาการตามแนวพระราชดำริโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก

– การพัฒนาในพื้นที่ต้นและการนำไปขยายผลทั้งในและต่างประเทศ

– หลักการทรงงาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

3

บรรยายและอภิปราย

9

ประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ๑

3

บรรยายและอภิปราย

 

10

ประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ๒

3

บรรยายและอภิปราย

 

  1. การศึกษาดูงานนอกสถานที่
  • การศึกษาดูงานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 2 ครั้ง
  • การศึกษาดูงานต่างจังหวัด 3 ครั้ง
  • การศึกษาดูงานต่างประเทศ 1 ครั้ง (ราชอาณาจักรสวีเดน Kingdom of Sweden)
  1. การปฏิบัติผลงานโครงการเชิงปฏิบัติรายบุคคล

นอกจากการเข้าศึกษาอบรมภาควิชาการในห้องเรียนแล้ว นักศึกษาจะต้องทำงานโครงการเชิงปฏิบัติรายบุคคล ซึ่งเป็นการจัดทำ “ต้นแบบโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือข้อเสนอโครงการต้นแบบ” โดยเป็นโครงการที่ปฏิบัติจริง หรือมีความพร้อมที่จะนำไปปฏิบัติได้จริง เป็นโครงการ ที่ก่อให้เกิดผลการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือเสริมสร้างธรรมาภิบาล หรือทั้งสองอย่าง โดยต้องเป็นโครงการที่มีผลยั่งยืน และไม่ใช่เป็นการบริจาคการกุศล

การวางแผนโครงการใช้หลักวิชาที่ได้เรียนรู้จากหลักสูตรและมีการเก็บข้อมูลจากสถานที่จริง และสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง และจะมีการนำเสนอในที่ประชุมพร้อมเอกสารประกอบใน “รูปแบบสร้างสรรค์” เช่น หนังสือ ชี้ชวน แผ่นพับ และ Roll-up สำหรับนิทรรศการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลงานสำหรับการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาอบรมในหลักสูตรนี้

  1. คุณสมบัติของผู้สำเร็จการศึกษา

ผู้ที่จะได้รับการพิจารณาให้สำเร็จการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. มีเวลาเข้าศึกษาอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของเวลาเรียนทั้งหมดในหลักสูตร
  2. มีผลงานส่งครบและในเวลาตามที่หลักสูตรกำหนด
  3. ไม่ประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียต่อหลักสูตร
  1. ผู้รับผิดชอบโครงการ

โครงการหลักสูตรการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับนักบริหารระดับสูง

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร.

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

เลขที่ 120 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9 ถนนแจ้งวัฒนะ

แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

หมายเลขโทรศัพท์ 02-141-9021 หรือ 08 4241 5996

(คุณปาริชาติ คมขำ หรือ คุณนุชชเนตร สองจันทร์)

ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร.

รายละเอียดหลักสูตร และข้อมูล ก.พ.ร. ๑ รุ่น ๘


ดาวน์โหลดใบสมัคร และส่งใบสมัครพร้อมเอกสารการชำระเงิน มาที่ E-mail :
ggsd9@igpthai.org
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อคุณปาริชาติ คมขำ
และคุณนุชชเนตร สองจันทร์ โทร 08 4241 5996 หรือ 0 2141 9021