ประกาศสถาบันฯ

เรื่อง ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตร Toolkit
พิชิตองค์การสมรรถนะสูง (PMQA 4.0
)

—————————————————-

รายละเอียดโครงการศึกษาอบรม
หลักสูตร Toolkit พิชิตองค์การสมรรถนะสูง (PMQA 4.0)

——————————————————-

1. หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันยังคงเป็นแรงกดดันสำคัญสำหรับทุกองค์การในโลกให้ต้อง เฝ้าระวัง การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการดำเนินการให้เท่าทันต่อการรับมือแรงกดดันเหล่านั้น ในยุคแห่ง
การ Disruption และสถานการณ์จากโรคระบาด Covid – 19 ที่เป็น New Normal ทำให้สภาพการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง องค์การธุรกิจหลายองค์การพบกับความพ่ายแพ้ที่เกิดจาก “คู่แข่งใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน” หน่วยงานราชการเองแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่ไม่รุนแรงเทียบเท่าบริษัทเอกชน แต่ก็เรียกได้ว่ามีแรงกดดันจากการแข่งขัน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน
หากหน่วยงานภาครัฐบริหารจัดการ โดยไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง และไม่เข้าใจเรื่องการแข่งขัน หน่วยงานภาครัฐเองก็อาจถูก disrupt ในโลกใบใหม่นี้ได้เช่นกัน

เกณฑ์พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เป็นกรอบแนวคิดของการบริหารจัดการขององค์การชั้นเลิศเทียบเท่ากับเกณฑ์การบริหารจัดการระดับสากลที่ใช้มาอย่างยาวนานทั่วโลก เป็นกรอบแนวคิด ที่กระตุ้นให้ส่วนราชการทำความเข้าใจบริบทแวดล้อมขององค์การตนเอง และมีวิธี “เลือกใช้เครื่องมือ (Toolkit) ในการบริหารจัดการ” ให้เหมาะกับบริบทขององค์การให้สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ ดังนั้น หากองค์การใช้ PMQA เครื่องมือเป็นกรอบช่วยในการพัฒนา ซึ่งทำให้มีความเข้าใจบริบทแวดล้อม ขององค์การแล้ว จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์เลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทองค์การอย่างบูรณาการและลงตัวเพื่อให้ได้รับผลการดำเนินงาน ที่เป็นเลิศในระยะยาว

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. ได้พิจารณาเห็นว่า เครื่องมือการพัฒนาการบริหารจัดการยุคใหม่ ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 เป็นปัจจัยสำคัญ ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้องค์การมีการพัฒนาก้าวสู่ความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ อันจะส่งผลให้องค์การ ก้าวสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว รวมถึงเป็นก้าวสำคัญในการเข้าสู่การมีคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐที่เป็นเลิศ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์การและประเทศสู่ความยั่งยืนจึงได้นำเครื่องมือการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ดังกล่าว
มาจัดทำเป็นโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “Toolkit พิชิตองค์การสมรรถนะสูง (PMQA 4.0)” ขึ้น

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อให้ผู้ที่เข้าฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของ PMQA 4.0 อย่างเป็นระบบ และนำไปใช้ในการวิเคราะห์เลือกเครื่องมือการบริหารจัดการองค์การที่เหมาะสมเพื่อยกระดับหน่วยงาน ภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับเครื่องมือการบริหารจัดการใหม่ ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาองค์กรให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 และตัวอย่าง การนำไปใช้ของหน่วยงานต่าง ๆ โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม

2.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผ่านแลกเปลี่ยนประสบการณ์
กับวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้ารับการฝึกอบรมในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการใหม่ ๆ ไปปรับใช้
เพื่อยกระดับสู่ระบบราชการ 4.0

3. กลุ่มเป้าหมาย/คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม

3.1 ผู้รับผิดชอบ/กำกับดูแลงานพัฒนาระบบราชการประจำส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน

3.2 ผู้รับผิดชอบการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0

3.3 บุคคลที่สนใจ และทำหน้าที่เป็นผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงองค์การ/หน่วยงาน (Change Agent)

4. ระยะเวลาในการศึกษาอบรม

วันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ และ 1 มีนาคม 2566

5. รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตร

หลักสูตร “Toolkit พิชิตองค์การสมรรถนะสูง (PMQA 4.0)” ประกอบด้วย 8 หัวข้อ การเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นเครื่องมือการพัฒนาองค์การสู่องค์การสมรรถนะสูงตามเกณฑ์ PMQA 4.0 รวมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง ประกอบด้วย :

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 : ความเข้าใจโลกใบใหม่กับระบบราชการไทยและแนวคิดของระบบการบริหารจัดการ PMQA

เวลา

เนื้อหาการเรียนรู้

09.00 – 12.00 น. ระบบราชการ 4.0 สู่ความเป็นเลิศได้อย่างไร
โดยรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข)
13.00 – 14.30 น. – แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่กระทบต่อระบบราชการไทย
– เครื่องมือการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานสำหรับยุคดิจิทัลตามหลัก PMQAโดย ดร. อติชาต พฤฒิกัลป์
14.45 – 16.00 น. PMQA – แนวคิด และการนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 : เครื่องมือในการวิเคราะห์และกำหนดทิศทางขององค์การ

เวลา

เนื้อหาการเรียนรู้

09.00 – 10.30 น. การวิเคราะห์ระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) และกำหนด ทิศทางขององค์การ (หมวดลักษณะสำคัญขององค์การ และหมวดที่ 1 การนำ องค์การ)
– การวิเคราะห์ระบบนิเวศน์ทางธุรกิจ Business Ecosystem
– การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้วย Scenario Analysis
– กำหนดนโยบายด้วย Portfolio Analysis
– การกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพโดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และนายกล้า จิระสานต์
10.45 – 12.00 น. ฝึกปฏิบัติ 1 : วิเคราะห์ Business Ecosystem
โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และนายกล้า จิระสานต์
13.00 – 14.30 น. การกำหนดกลยุทธ์ที่สัมพันธ์กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Product Market fit) (หมวด 2 ยุทธศาสตร์ และหมวด 3 ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)

– การวิเคราะห์ Segmentation และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) และกำหนดแนวทางให้บริการ (Positioning) ด้วย STP Analysis
– การกำหนดกลยุทธ์ด้วย OGSM
– การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์สู่ระบบงานด้วยการวิเคราะห์ Objective Work System Analysis

โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และนายกล้า จิระสานต์

14.45 – 16.00 น. ฝึกปฏิบัติ 2 : STP Analysis

โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และนายกล้า จิระสานต์

 

วันที่ 1 มีนาคม 2566 : เครื่องมือในการแปลงกลยุทธ์ให้เป็นระบบงาน

เวลา

เนื้อหาการเรียนรู้

09.00 – 10.30 น. การออกแบบระบบงานและสมรรถนะหลักที่จำเป็นในอนาคต
(หมวด 5 บุคลากร และหมวด 6 ระบบปฏิบัติการ)
– การออกแบบกระบวนการ Process Design
– การวิเคราะห์ความสูญเปล่าด้วย Process Mapping
การวิเคราะห์ภาระงานด้วยการวิเคราะห์ Takt Time
– การประเมินความผูกพันของบุคลากรด้วย eNPSโดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และ ดร. อติชาต พฤฒิกัลป์
10.45 – 12.00 น. ฝึกปฏิบัติ 3 : Process Mapping

โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และ นายกล้า จิระสานต์

13.00 – 14.30 น. ระบบการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
(หมวด 4) และ ผลลัพธ์ (หมวด 7)
– การกำหนดโครงสร้างตัววัดด้วย KPI Tree
– การสร้าง Strategic alignment ด้วย BSC, OKRs
– การสร้าง Learning Organization Culture ด้วย SECI Model, CFR Modelโดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และนายกล้า จิระสานต์
14.45 – 16.00 น. ฝึกปฏิบัติ 4: การกำหนดโครงสร้างตัววัดโดย KPI Tree

โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และ ดร. อติชาต พฤฒิกัลป์


หมายเหตุ
: – กำหนดการดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    • พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 10.30 – 10.45 น. และ 14.30 – 14.45 น.
    • พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น.

6. วิธีการฝึกอบรม

โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพมหานคร

7. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

บรรยายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์ด้านเครื่องมือบริหารจัดการ ยุคใหม่
ตามเกณฑ์การประเมิน PMQA 4.0
7.1 บรรยายและฝึกปฏิบัติ
7.2 กรณีศึกษา จากหน่วยงานภาครัฐที่ผลการดำเนินงานสอดคล้องกับเกณฑ์ PMQA 4.0
7.3 การแลกเปลี่ยนตอบข้อซักถาม

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สํานักงาน ก.พ.ร.

9. อัตราค่าธรรมเนียมหลักสูตร

9.1 องค์การมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับเครื่องมือการการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีส่วนร่วมในการผลักดันสู่ระบบราชการ 4.0
9.2 องค์การสามารถสนองนโยบายของรัฐได้อย่างรวดเร็ว
9.3 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรม
ซึ่งมาจากต่างหน่วยงาน อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการร่วมมือและปฏิบัติงานร่วมกันในอนาคต

10. อัตราค่าธรรมเนียมหลักสูตร

ท่านละ 9,900.- บาท

11. การลงทะเบียน

ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้ารับการศึกษาอบรม
ลงทะเบียนผ่าน Google Form โดยสามารถ Scan QR Code นี้
หรือคลิก สมัครเข้ารับการศึกษาอบรม…
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อคุณดารัตน์ จำเนียรพล
และคุณเจนรินทร์ สุขสุทธิ์ โทร 02 141 8998 หรือ 088 689 1481

12. วิธีการชำระค่าลงทะเบียน

ชำระโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ (อาคาร บี)
ชื่อบัญชี : สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เลขที่บัญชี : 955-0-09554-1

***โดยผู้สมัครจะต้องชำระค่าธรรมเนียมที่ทางธนาคารเรียกเก็บเอง***

ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้ารับการศึกษาอบรม
ลงทะเบียนผ่าน Google Form โดยสามารถ Scan QR Code นี้
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อคุณดารัตน์ จำเนียรพล
และคุณเจนรินทร์ สุขสุทธิ์ โทร 02 141 8998 หรือ 088 689 1481

  • เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตร New Toolkit พิชิตองค์การสมรรถนะสูง (PMQA 4.0)
  • ประกาศนียบัตร หลักสูตร “New Toolkit พิชิตองค์การสมรรถนะสูง (PMQA 4.0)