หลักสูตร

New Toolkit พิชิตองค์การสมรรถนะสูง (PMQA 4.0)

—————————————————-

รายละเอียดโครงการศึกษาอบรม
หลักสูตร New Toolkit พิชิตองค์การสมรรถนะสูง (PMQA 4.0)

——————————————————-

๑. หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันยังคงเป็นแรงกดดันสำคัญสำหรับทุกองค์การในโลกให้ต้องเฝ้าระวัง การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการดำเนินการให้เท่าทันต่อการรับมือแรงกดดันเหล่านั้นในยุคแห่งการ Disruption และสถานการณ์ที่เป็น New Normal ทำให้สภาพการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง องค์การธุรกิจหลายองค์การพบกับความพ่ายแพ้ที่เกิดจาก “คู่แข่งใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน” หน่วยงานราชการเองแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่ไม่รุนแรงเทียบเท่าบริษัทเอกชน แต่ก็เรียกได้ว่ามีแรงกดดันจากการแข่งขัน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน หากหน่วยงานภาครัฐบริหารจัดการ โดยไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง และไม่เข้าใจเรื่องการแข่งขัน หน่วยงานภาครัฐเอง ก็อาจถูก disrupt ในโลกใบใหม่นี้ได้เช่นกัน

เกณฑ์พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เป็นกรอบแนวคิดของการบริหารจัดการของ องค์การชั้นเลิศเทียบเท่ากับเกณฑ์การบริหารจัดการระดับสากลที่ใช้มาอย่างยาวนานทั่วโลกเป็นกรอบแนวคิด ที่กระตุ้นให้ส่วนราชการทำความเข้าใจบริบทแวดล้อมขององค์การตนเอง และมีวิธี “เลือกใช้เครื่องมือ (Toolkit) ในการบริหารจัดการ” ให้เหมาะกับบริบทขององค์การให้สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ ดังนั้น หากองค์การใช้ PMQA เครื่องมือเป็นกรอบช่วยในการพัฒนา ซึ่งทำให้มีความเข้าใจบริบทแวดล้อม ขององค์การแล้ว จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์เลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทองค์การอย่างบูรณาการและลงตัวเพื่อให้ได้รับผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศในระยะยาว

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. ได้พิจารณาเห็นว่า เครื่องมือการพัฒนาการบริหารจัดการยุคใหม่ ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการ ภาครัฐ ๔.๐ เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้องค์การมีการพัฒนาก้าวสู่ความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ อันจะส่งผลให้องค์การก้าวสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว จึงนำเครื่องมือการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ๔.๐ ดังกล่าว มาจัดทำเป็นโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “New Toolkit พิชิตองค์การสมรรถนะสูง (PMQA 4.0)” ขึ้น


๒. วัตถุประสงค์

๒.๑ เพื่อให้ผู้ที่เข้าฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของ PMQA 4.0 อย่างเป็นระบบ และนำไปใช้ในการวิเคราะห์เลือกเครื่องมือการบริหารจัดการองค์การที่เหมาะสมเพื่อยกระดับหน่วยงาน ภาครัฐสู่ระบบราชการ ๔.๐ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒.๒ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับเครื่องมือการบริหารจัดการใหม่ ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาองค์กรให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ๔.๐ และตัวอย่าง การนำไปใช้ของหน่วยงานต่างๆ โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม

๒.๓ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผ่านแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้ารับการฝึกอบรมในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการใหม่ ๆ ไปปรับใช้เพื่อยกระดับสู่ระบบราชการ ๔.๐


๓. กลุ่มเป้าหมาย/คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม

๓.๑ ผู้รับผิดชอบ/กำกับดูแลงานพัฒนาระบบราชการประจำส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน

๓.๒ ผู้รับผิดชอบการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ๔.๐

๓.๓ บุคคลที่สนใจ และทำหน้าที่เป็นผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงองค์การ/หน่วยงาน (Change Agent)

๔. ระยะเวลาในการศึกษาอบรม

วันที่ ๖ – ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔


๕. รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตร

หลักสูตร “New Toolkit พิชิตองค์การสมรรถนะสูง (PMQA 4.0)” ประกอบด้วย ๘ หัวข้อ การเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นเครื่องมือการพัฒนาองค์การสู่องค์การสมรรถนะสูงตามเกณฑ์ PMQA 4.0 รวมทั้งสิ้น ๑๘ ชั่วโมง ประกอบด้วย :

วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๔ : ความเข้าใจโลกใบใหม่กับระบบราชการไทย และแนวคิดของระบบการบริหารจัดการ PMQA

เวลา

เนื้อหาการเรียนรู้

๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น.
  • แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่กระทบต่อระบบราชการไทย
    โดย ดร. อติชาต พฤฒิกัลป์
๑๐.๔๕ – ๑๒.๐๐ น.
  • เครื่องมือการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานสำหรับยุคดิจิทัลตามหลัก PMQA โดย ดร. อติชาต พฤฒิกัลป์
๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.
  • ระบบราชการ ๔.๐ สู่ความเป็นเลิศได้อย่างไร
    โดยรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข)
๑๔.๔๕ – ๑๖.๐๐ น.
  • PMQA-แนวคิด และการนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์

วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๔ : เครื่องมือในการวิเคราะห์และกำหนดทิศทางขององค์การ

เวลา

เนื้อหาการเรียนรู้

๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น.
  • การวิเคราะห์ระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) และกำหนด ทิศทางขององค์การ (หมวดลักษณะสำคัญขององค์การ และหมวดที่ ๑ การนำ องค์การ)
    • การวิเคราะห์ระบบนิเวศน์ทางธุรกิจ Business Ecosystem
    • การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้วย Scenario Analysis
    • กำหนดนโยบายด้วย Portfolio Analysis
    • การกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

    โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และนายกล้า จิระสานต์

๑๐.๔๕ – ๑๒.๐๐ น.

  • ฝึกปฏิบัติ ๑ : วิเคราะห์ Business Ecosystem
    โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และนายกล้า จิระสานต์

๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.

  • การกำหนดกลยุทธ์ที่สัมพันธ์กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Product Market fit) (หมวด ๒ ยุทธศาสตร์ และหมวด ๓ ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)
    • การวิเคราะห์ Segmentation และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) และกำหนดแนวทางให้บริการ (Positioning) ด้วย STP Analysis
    • การกำหนดกลยุทธ์ด้วย OGSM
    • การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์สู่ระบบงานด้วยการวิเคราะห์ Objective Work System Analysis

    โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และนายกล้า จิระสานต์

๑๔.๔๕ – ๑๖.๐๐ น.
  • ฝึกปฏิบัติ ๒ : STP Analysis
    โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และนายกล้า จิระสานต์

วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๔ : เครื่องมือในการแปลงกลยุทธ์ให้เป็นระบบงาน

เวลา

เนื้อหาการเรียนรู้

 

 

๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น.

  • การออกแบบระบบงานและสมรรถนะหลักที่จำเป็นในอนาคต(หมวด ๕ บุคลากร และหมวด ๖ ระบบปฏิบัติการ)
    • การออกแบบกระบวนการ Process Design
    • การวิเคราะห์ความสูญเปล่าด้วย Process Mapping การวิเคราะห์ภาระงานด้วยการวิเคราะห์ Takt Time
    • การประเมินความผูกพันของบุคลากรด้วย eNPS

    โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และ ดร. อติชาต พฤฒิกัลป์

๑๐.๔๕ – ๑๒.๐๐ น.
  • ฝึกปฏิบัติ ๓ : Process Mappingโดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และ นายกล้า จิระสานต์
๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.
  • ระบบการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้(หมวด ๔) และ ผลลัพธ์ (หมวด ๗)
    • การกำหนดโครงสร้างตัววัดด้วย KPI Tree
    • การสร้าง Strategic alignment ด้วย BSC, OKRs
    • การสร้าง Learning Organization Culture ด้วย SECI Model, CFR Model

    โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และนายกล้า จิระสานต์

๑๔.๔๕ – ๑๖.๐๐ น.
  • ฝึกปฏิบัติ ๔: การกำหนดโครงสร้างตัววัดโดย KPI Tree
    โดย นายกิตติณัฐ พนมฤทธิ์ และ ดร. อติชาต พฤฒิกัลป์


หมายเหตุ
: – กำหนดการดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
– พักเวลา ๑๐.๐๐ – ๑๐.๑๕ น. ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. และ ๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น.


๖. วิธีการฝึกอบรม

บรรยายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์ด้านเครื่องมือบริหารจัดการยุคใหม่ ตามเกณฑ์การประเมิน PMQA 4.0 ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting

๖.๑ บรรยายและฝึกปฏิบัติ

๖.๒ กรณีศึกษา จากหน่วยงานภาครัฐที่ผลการดำเนินงานสอดคล้องกับเกณฑ์ PMQA 4.0

๖.๓ การแลกเปลี่ยนตอบข้อซักถาม


๗. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สํานักงาน ก.พ.ร.


๘. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๘.๑ องค์การมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับเครื่องมือการการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีส่วนร่วมในการผลักดัน
สู่ระบบราชการ ๔.๐

๘.๒ องค์การสามารถสนองนโยบายของรัฐได้อย่างรวดเร็ว

๘.๓ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรมซึ่งมาจากต่างหน่วยงาน อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการร่วมมือและปฏิบัติงานร่วมกันในอนาคต


๙. อัตราค่าธรรมเนียมหลักสูตร

ท่านละ ๖,๙๐๐.- บาท


๑๐. การลงทะเบียน

ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้ารับการศึกษาอบรม
ลงทะเบียนผ่าน Google Form โดยสามารถ
Scan QRCode นี้ หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
กรุณาติดต่อคุณสุณีย์ แสงจินดา, คุณสาวิณี นาคขวัญ
โทร ๐๙-๙๑๙๗-๘๒๓๒, ๐๘-๒๒๗๔-๙๙๖๑

 

๑๑. วิธีการชำระค่าลงทะเบียน

ชำระโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ (อาคาร บี)

ชื่อบัญชี : สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

เลขที่บัญชี : ๙๕๕-๐-๐๙๕๕๔-๑

***โดยผู้สมัครจะต้องชำระค่าธรรมเนียมที่ทางธนาคารเรียกเก็บเอง***

 

………………………………